วิกิเมเนีย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
วิกิเมเนีย | |
---|---|
สถานะ | ยังคงดำเนินการ |
ประเภท | การประชุม |
ความถี่ | ประจำปี |
ประเดิม | 5 สิงหาคม 2005 |
ล่าสุด | 16–19 สิงหาคม ค.ศ. 2023 |
จัดโดย | ทีมอาสาสมัครท้องถิ่น |
สถานะการยื่นภาษี | ไม่แสวงผลกำไร |
เว็บไซต์ | wikimania.wikimedia.org |
วิกิเมเนีย (อังกฤษ: Wikimania) เป็นการประชุมระดับนานาชาติประจำปีสำหรับผู้ใช้ของโครงการวิกิที่ดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย (ประกอบด้วยวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องอื่น ๆ)[1] หัวข้อการนำเสนอและการอภิปรายประกอบด้วยโครงการมูลนิธิวิกิมีเดีย, วิกิอื่น ๆ, ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ, ความรู้และเนื้อหาเสรี และสังคมที่แตกต่างรวมถึงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเหล่านี้
รายละเอียดการจัดงาน
[แก้]ประวัติ
[แก้]วิกิเมเนีย 2005
[แก้]การประชุมวิกิเมเนียครั้งแรกจัดขึ้นใน เฮาส์เดอร์ยูเกนด์ ที่ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ในวันที่ 4–8 สิงหาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งดึงดูดผู้เข้าร่วมงานราว 380 คน[2]
สัปดาห์ของการประชุมประกอบด้วยสี่ "วันแฮ็คกิ้ง" ในวันที่ 1–4 สิงหาคม ซึ่งนักพัฒนาบางส่วนรวมตัวกัน 25 คน เพื่อทำงานด้านโค้ดและหารือด้านเทคนิคของวิกิมีเดีย รวมถึงการทำงานของโครงการวิกิมีเดีย วันหลักของการประชุมมีการเรียกเก็บเงินในวันที่ 4–8 สิงหาคม ซึ่งวันที่ 5-7 สิงหาคม ตรงกับวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ของสัปดาห์ ระยะการนำเสนอเป็นไปตามกำหนดการทุกวันตลอดช่วงเวลาสามวัน
ผู้บรรยายที่สำคัญประกอบด้วย จิมมี เวลส์, รอส เมย์ฟิลด์, วอร์ด คันนิงแฮม และ ริชาร์ด สตอลล์แมน (ซึ่งพูดเกี่ยวกับ "ลิขสิทธิ์และชุมชนในสมัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์") โดยส่วนใหญ่ของการประชุมและการสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ แม้จะมีเพียงเล็กน้อยที่ใช้ภาษาเยอรมัน
ผู้ให้การสนับสนุนประกอบด้วย อานเซอร์.คอม, โซเชียลเท็กท์, ซันไมโครซิสเต็มส์, ด็อคเช็ค[20] และโลกอสกรุ๊ป
วิกิเมเนีย 2006
[แก้]วิกิเมเนีย 2006 จัดขึ้นในวันที่ 6 ถึง 8 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ที่โรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด เบิร์กแมนเซ็นเตอร์ฟอร์อินเทอร์เน็ตแอนด์โซไซตี ในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 400[3]–500[21] คน
ผู้บรรยายประกอบด้วย จิมมี เวลส์, ลอว์เรนซ์ เลสสิก, บริวสเตอร์ คาห์ล, ยอไช แบลงเกอร์, มิช เคเปอร์, วอร์ด คันนิงแฮม และ เดวิด เวย์นเบอร์เกอร์ ส่วนแดน กิลเมอร์ ได้จัดวารสารศาสตร์พลเมืองนอกวาระประชุมในวันถัดมา
การปราศัยที่ครบถ้วนของเวลส์ครอบคลุมเรื่องแอซโซซิเอตเพลส และได้จัดพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมากไปทั่วโลก เขาเล่าลำดับเหตุการณ์ให้ฟังว่ามูลนิธิได้วิวัฒนามาจากการ "สวมชุดนอน" ของเขาจนถึงการกลายเป็นองค์กรที่มั่นคงเช่นปัจจุบันได้อย่างไร; การผลักดันเรื่องคุณภาพเหนือกว่าปริมาณ: การรวมวิกิพีเดียเข้าไว้ในโครงการแจกจ่ายคอมพิวเตอร์ วันแล็ปท็อปเพอร์ไชลด์; ทั้งโครงการวิกิวิทยาลัยและการก่อตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาล้วนได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของมูลนิธิ; และการพัฒนา Wiki-WYG ซึ่งต้องขอบคุณต่อการลงทุนในภาคเอกชนผ่าน วิเกีย และ โซเชียลเท็กท์[22]
อานเซอร์.คอม เป็นผู้อุปถัมภ์หลักอย่างเป็นทางการของวิกิเมเนีย 2006 ขณะที่ แอมะซอน.คอม, เบิร์กแมนเซ็นเตอร์ฟอร์อินเทอร์เน็ตแอนด์โซไซตี ที่ โรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด, โนเกีย, วิกิฮาว เป็นผู้สนับสนุนในระดับ-บีนีแฟกเตอร์, เว็ทเพนท์, อาสค์.คอม, ยาฮู!, และ โซเชียลเท็กท์ เป็นผู้สนับสนุนระดับ-เฟรนด์ กับ ไอบีเอ็ม, FAQ ฟาร์ม, เอเลเวชันพาร์ทเนอร์, วันแล็ปท็อปเพอร์ไชลด์ และ มูลนิธิซันไลท์ เป็นผู้สนับสนุนระดับ-ซัพพอร์ตเตอร์ ของการประชุมครั้งนี้[23]
สำหรับเมืองอื่นที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ ได้แก่ ลอนดอน, มิลาน, บอสตัน และ โทรอนโต; มีเพียงโทรอนโตกับบอสตันเท่านั้นที่ผ่านการพิจารณาจากคณะผู้จัดงานวิกิเมเนียให้ผ่านสู่รอบที่สอง กรณีที่โทรอนโตนั้นเสนอให้จัดงานขึ้นที่เบเฮนเซ็นเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยโทรอนโต
วิกิเมเนีย 2007
[แก้]ตามผลที่ประกาศเมื่อ 25 กันยายน ค.ศ. 2006, วิกิเมเนีย 2007[24] ได้จัดขึ้นที่ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน บนเกาะไต้หวัน ตั้งแต่วันที่ 3-5 สิงหาคม ค.ศ. 2007 การประชุมนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดคอร์สฝึกอบรมให้แก่อาสาสมัคร[25]
อีก 3 เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน ได้แก่ ลอนดอน, อะเล็กซานเดรีย และ ตูริน ส่วนข้อเสนอจาก เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, สิงคโปร์, อิสตันบูล และ ออร์แลนโด นั้นไม่ผ่านการพิจารณาให้เข้ารอบคัดเลือก[26]
วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2007 ผู้สื่อข่าว โนม โคเฮน จาก เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า: "การประชุมนี้ดึงดูดผู้เข้าร่วมประมาณ 440 คน โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในไต้หวัน ซึ่งต้องการใช้เวลาตลอด 3 วันกับแนวคิดและประเด็นต่างๆ ที่ทำให้เกิดสารานุกรมที่เขียนขึ้นโดยอาสาสมัครทั้งหมด[4] เวิร์คชอปในงานครอบคลุมหลายประเด็นเช่น การมีส่วนร่วมอย่างสันติ ความสำคัญของการมอบ "ประสบการณ์" ในโครงการที่ยินยอมให้ใครมีส่วนร่วมก็ได้ แม้แต่ผู้แก้ไขบทความที่ไม่แสดงชื่อของตน"[4]
วิกิเมเนีย 2008
[แก้]วิกิเมเนีย 2008 จัดขั้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ตั้งแต่วันที่ 17-19 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 มีผู้เข้าร่วมประมาณ 650 คนจาก 45 ประเทศ[5] สถานที่จัดงานคือ บีบลิออเธคา อะเล็กซานเดรีย มีสามเมืองที่ถูกเสนอในตอนสิ้นสุด และมีสองเมืองอื่นเป็น แอตแลนตา และ เคปทาวน์ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอจัดงานที่ คาลส์รูเออ, ลอนดอน และ โทรอนโต แต่ถอนตัวออกไปในภายหลัง มีความขัดแย้งในการจัดงานอยู่บ้างเนื่องจากข้อกล่าวหาเรื่องการเซ็นเซอร์ในอียิปต์รวมถึงการจำคุกบล็อกเกอร์[27][28]
วิกิเมเนีย 2009
[แก้]วิกิเมเนีย 2009 จัดขึ้นในบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ในวันที่ 26–28 สิงหาคม ค.ศ. 2009 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม 559 ราย[6] การเลือกรอบสุดท้ายเป็นการตัดสินเลือกเมืองจัดงาน ระหว่างบัวโนสไอเรส กับโทรอนโต ส่วนบริสเบน กับคาลส์รูเออ นั้น ได้รับการเสนออย่างเป็นทางการ แต่ถอนตัวออกจากการพิจารณาในภายหลัง
วิกิเมเนีย 2010
[แก้]วิกิเมเนีย 2010[29] จัดขึ้นในวันที่ 9-11 กรกฎาคม ในโปลิชบัลติกฟิลฮาร์โมนิค ที่เมืองกดัญสก์ ประเทศโปแลนด์ วันที่เริ่มต้นคือวันที่ 9 ซึ่งตรงกับช่วงท้ายของการประชุมวิชาการวิกิซิม นี่เป็นครั้งที่สองที่วิกิเมเนียจัดขึ้นในสหภาพยุโรป การเสนอเมืองจัดอย่าง อัมสเตอร์ดัม และ ออกซฟอร์ด สำหรับวิกิเมเนีย 2010 ได้แพ้มติไปโดยขอบจำกัด นี่เป็นการประชุมครั้งแรกซึ่งมุ่งเน้นหลักไปยังวัฒนธรรมของเจ้าภาพผู้จัดประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนเสิร์ตออเคสตรา เพื่อรำลึกครบรอบ 10 ปี การเสียชีวิตของนักประพันธ์ร่วมสมัยรายสำคัญที่มีชื่อว่า วลาดีสลาฟ สฟีลมัน และภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์เรื่อง ทรูอินนัมเบอร์ส?
ในที่ประชุม ซู การ์ดเนอร์ ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิวิกิมีเดีย กล่าวว่าจุดมุ่งหมายของมูลนิธินี้ คือ การเจริญเติบโตจำนวนผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ของวิกิพีเดียจาก 371 ล้านคน ไปเป็น 680 ล้านคนต่อเดือน ในช่วงหลังจากห้าปีถัดไป
วิกิเมเนีย 2011
[แก้]วิกิเมเนีย 2011การประชุมวิกิเมเนียครั้งที่เจ็ดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 4 ถึง 7 สิงหาคม ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล[30] โดยได้จัดการประชุมขึ้นที่หอประชุมไฮฟาและอยู่ติดกับศูนย์วัฒนธรรมเบย์เฮชต์ที่ภูเขาคาร์เมล การประชุมประกอบด้วย 125 หัวข้อซึ่งดำเนินพร้อมกันห้าส่วน และมีผู้เข้าร่วม 720 คน[30] จาก 56 ประเทศ[31] รวมถึงมาจากดินแดนที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลด้วย
วิกิเมเนีย 2012
[แก้]วิกิเมเนีย 2012 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12–15 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ที่ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,400 คน จาก 87 ประเทศ[32]
วิกิเมเนีย 2013
[แก้]วิกิเมเนีย 2013 จัดขึ้น ณ วันที่ 7–11 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ณ มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกง
หนึ่งในกิจกรรมจัดขึ้นที่อินเตอร์เนชันแนลคอมเมิร์ซเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในฮ่องกง
เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ได้แก่ ลอนดอน (สหราชอาณาจักร), บริสตอล (สหราชอาณาจักร), เนเปิลส์ (อิตาลี) และสุราการ์ตา (อินโดนีเซีย)
วิกิเมเนีย 2014
[แก้]วิกิเมเนีย 2014 ได้มีการเสนอชื่อเมืองเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 โดยกรุงลอนดอนได้รับเลือกให้เป็นเมืองเจ้าภาพในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 [33] โดยมีเมืองที่เสนอชื่ออื่นเพียงเมืองเดียว ซึ่งมาจากอารูชา (ประเทศแทนซาเนีย) การประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ วันที่ 8–10 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ที่ศูนย์ศิลปะบาร์บิกัน[34]
วิกิเมเนีย 2015
[แก้]เม็กซิโกซิตีได้รับเลือก (โดยมีเมืองอื่น ๆ ที่เสนอชื่อ ได้แก่ อารูชา, ตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย; จังหวัดบาหลี ในประเทศอินโดนีเซีย; เคปทาวน์ ในประเทศแอฟริกาใต้; ดาร์-เอส-ซาลาม ในประเทศแทนซาเนีย; เอซีโนลารีโอ จังหวัดเลกโก แคว้นลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี และจังหวัดโมนาสเทียร์ ประเทศตูนิเซีย) ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมครั้งที่สิบเอ็ด ได้มีกำหนดจัดขึ้น ณ วันที่ 15-19 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 โดยมีสถานที่จัดงานหลักอยู่ที่หอสมุดบัสกอนเซโลสของเมืองนี้[35][36] มีการจัดตั้งวิกิมีเดียเม็กซิโกที่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งเป็นสมาคมระดับท้องถิ่นของเม็กซิโกที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์และเป้าหมายของมูลนิธิวิกิมีเดีย[37]
วิกิเมเนีย 2016
[แก้]วิกิเมเนีย 2016 เป็นการประชุมวิกิเมเนียครั้งที่สิบสอง ซึ่งจัดขึ้น ณ วันที่ 24 ถึง 26 มิถุนายน ค.ศ. 2016 กับอีเวนต์ที่ต่อพ่วงตั้งแต่วันที่ 21 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน ในหมู่บ้านบนภูเขาของเอซีโนลารีโอ ประเทศอิตาลี[38] ซึ่งเอซีโนลารีโอเคยประสบความล้มเหลวในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพสำหรับวิกิเมเนีย 2015 นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ได้จัดในเมืองใหญ่ โดยในระหว่างอีเวนต์ ได้มีการประกาศถึงผู้อำนวยการบริหารเฉพาะกาลของมูลนิธิวิกิมีเดียชื่อแคเธอรีน มาเฮอร์ ว่าได้รับการแต่งตั้งอย่างถาวร
วิกิเมเนีย 2017
[แก้]วิกิเมเนีย 2017 การประชุม วิกิเมเนีย ครั้งที่สิบสามจัดขึ้นที่โรงแรม เลอเซ็นเตอร์เชอราตัน ในมอนทรีออล รัฐควิเบก แคนาดา ตั้งแต่วันที่ 9 ถึง 13 สิงหาคม ค.ศ. 2017[39][40] จัดขึ้นในช่วงที่ประเทศแคนาดาเฉลิมฉลองการก่อตั้งครบรอบ 150 ปี และครบรอบ 375 ปีของนครมอนทรีออล[41] การประชุม วิกิคอนเฟอเรนซ์ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของงานในสองวันแรก ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่การประชุม วิกิเมเนีย ไม่ได้ใช้ระบบการเสนอเพื่อเป็นเจ้าภาพ โดยถูกแทนที่ด้วยกระบวนการคัดเลือกโดยคณะกรรมการของมูลนิธิวิกิมีเดีย
วิกิเมเนีย 2018
[แก้]Wikimania 2018 การประชุม วิกิเมเนีย ครั้งที่สิบสี่จัดขึ้นใน เคปทาวน์, แอฟริกาใต้, จากวันที่ 18 ถึง 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ที่โรงแรม เคปซันเซาเทิร์นซัน ชุดรูปแบบสำหรับงานครั้งนี้คือ " การเชื่อมโยงช่องว่างความรู้: เดินหน้าเส้นทางแห่งความกรุณา (Ubuntu) "[42] เป็นครั้งแรกที่มีการจัดงานในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา และเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดธีมของงาน โดยเป็นครั้งที่สองที่มีการจัดงานในแอฟริกาและครั้งที่สองที่จัดขึ้นในซีกโลกใต้
วิกิเมเนีย 2019
[แก้]วิกิเมเนีย 2019 การประชุมวิกิมีเดียครั้งที่สิบห้าจัดขึ้นใน สตอกโฮล์ม สวีเดน ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 18 สิงหาคม ค.ศ. 2019 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 800 คน[18][43] โดยคุณ อะมีนะฮฺ ไมซูนิ จากตูนิเซีย ได้รับรางวัลใหม่ วิกิมีเดียนแห่งปี (Wikimedian of the year)[44]
วิกิเมเนีย 2020-2022
[แก้]การประชุมวิกิเมเนียครั้งที่ 16 มีกำหนดจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 5 ถึง 9 สิงหาคม ค.ศ. 2020[45] ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 15 ปีของการประชุม ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 มีการประกาศเลื่อนออกไปยัง ค.ศ. 2021 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19[46] ในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2021 เจนีน อุซเซลล์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการมูลนิธิวิกิมีเดีย ประกาศว่าวิกิเมเนียจะย้ายไปจัดในรูปแบบงานเสมือนจริง เนื่องจากการแพร่ระบาดที่กำลังดำเนินอยู่ส่งผลกระทบต่อการวางแผนจัดงานแบบพบปะกันด้วยตนเอง.[47] วิกิเมเนีย 2021 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 ถึง 17 สิงหาคม ค.ศ. 2021 กิจกรรมแบบพบปะด้วยตนเองตามกำหนดการจะจัดขึ้นโดย Wikimedia ESEAP (กลุ่มผู้ใช้ในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกสำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาค ทำให้จะเป็นงานวิกิเมเนียครั้งที่สามที่จะจัดขึ้นในเอเชียและครั้งแรกสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการตัดสินใจว่า ESEAP จะได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานพบปะต่อหน้าของวิกิเมเนียในครั้งต่อไป
งานวิกิเมเนีย 2022 ยังคงเป็นกิจกรรมออนไลน์อีกครั้ง แต่ด้วยการแพร่ระบาดของไวรัสที่คลี่คลายลง บางเมืองจึงจัดกิจกรรมแบบพบปะกันด้วยตนเอง
วิกิเมเนีย 2023
[แก้]การประชุมวิกิเมเนียครั้งที่ 18[48] จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการสิงคโปร์ซันเทค ประเทศสิงคโปร์ และทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 19 สิงหาคม ค.ศ. 2023 เป็นงานแรกที่กลับจัดในรูปแบบงานพบปะต่อหน้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 2019 และจัดโดย Wikimedia ESEAP[49][50] ธีมในการประชุมคือ "ความหลากหลาย ความร่วมมือ อนาคต"[51] การใช้งานและข้อจำกัดของเจเนอเรทีฟ เอไอ ได้รับการอภิปรายกันอย่างละเอียดในระหว่างการประชุม[52] การมีส่วนร่วมของเพศในกลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดียยังถูกเน้นในการประชุมครั้งนี้ด้วยการเปิดตัวการประชุมสุดยอดวิกิสตรี[53] กิจกรรมรอง มีได้แก่ การเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของกูเกิล สวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ และหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์[54][55] การเฉลิมฉลองการปิดการประชุมจัดขึ้นที่โดมดอกไม้ การ์เดนส์บายเดอะเบย์
วิกิเมเนีย 2024
[แก้]วิกิเมเนีย 2024 จะจัดขึ้นที่เมืองกาตอวิตแซ ประเทศโปแลนด์[56]
ดูเพิ่ม
[แก้]- Wiki Indaba การประชุมในแอฟริกา
- Wiki Conference India
- WikiConference North America
- WikiSym
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Worldwide Wikimania
- ↑ 2.0 2.1 Main Page – Wikimania 2006. wikimedia.org
- ↑ 3.0 3.1 The Many Voices of Wikipedia, Heard in One Place
- ↑ 4.0 4.1 4.2 New York Times article In Taipei, Wikipedians Talk Wiki Fatigue, Wikiwars and Wiki Bucks report by Noam Cohen and edited by Saul Hansell published August 3, 2007
- ↑ 5.0 5.1 James Gleick, Wikipedians Leave Cyberspace, Meet in Egypt, Wall Street Journal, 8 ส.ค. 2008.
- ↑ 6.0 6.1 m:Wikimania#Wikimania 2009 Wikimedia.org
- ↑ Wikimania 2010 site – Attendees. wikimedia.org.
- ↑ David Shamah (2013-08-18). "Israel's latest invention: Free hi-res aerial photos for all". The Times of Israel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27.
- ↑ "Annual Report for Fiscal Year 2011–12". WikimediaDC. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.
- ↑ "Wikimania 2012". groundreport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-06. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.
- ↑ Chan, Deryck (2013-09-01). "[Wikimania-l] 2013 attendance figures?". Wikimania-l (Mailing list). สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
- ↑ Prior, Stuart (2014-09-22). "[Wikimania-l] Wikimania 2014". Wikimania-l (Mailing list). สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
- ↑ "Wikimania 2015". meta.wikimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
- ↑ "Il bilancio di Wikimania a Esino: Oltre 1200 presenze, di 70 nazioni". La Provincia di Lecco (ภาษาอิตาลี). 27 June 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2016.
- ↑ "Wikipedia founder kicks off Montreal Wikimania by urging net neutrality". August 11, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2017. สืบค้นเมื่อ September 26, 2017.
- ↑ "Wikipedia conference comes to Montreal for first time". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2017. สืบค้นเมื่อ September 26, 2017.
- ↑ "#Wikimania2018 Conference: One on one with Wikipedia Founder Jimmy Wales". The Infonomist. 2018-07-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18 – โดยทาง BusinessReport.
- ↑ 18.0 18.1 Harrison, Stephen (2019-08-16). "Wikimania to the Rescue". Slate.
{{cite magazine}}
: Cite magazine ต้องการ|magazine=
(help) - ↑ Wikimania Core Organizing Team (2023-08-20). "Wikimania 2023: Day 4 and looking ahead to 2024". Diff (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-08-20.
- ↑ Doccheck.com
- ↑ Reason Magazine – The neutrality of this article is disputed
- ↑ MP3 of Jimmy Wales' plenary speech at Wikimania 2006
- ↑ Wikimania 2006: Sponsors
- ↑ Wikimania2007.wikimedia.org
- ↑ Wikimedia.org
- ↑ Wikimedia.org
- ↑ "Is there a boycott of Wikimania 2008?" เก็บถาวร พฤษภาคม 19, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Los Angeles Times. July 2008.
- ↑ "In Egypt, Wikipedia is more than hobby" เก็บถาวร สิงหาคม 3, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. International Herald Tribune. July 21, 2008.
- ↑ Wikimania2010.wikimedia.org
- ↑ 30.0 30.1 Wikimania 2011. wikimedia.org.
- ↑ Levin, Verony (2011-08-05). "Wikimania Conference at Its Peak; Founder Jimmy Wales to Speak Tomorrow". TheMarker (ภาษาฮิบรู). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
- ↑ Nicholas Bashour, Wikimania 2012 swan song, Wikimedia website, July 17, 2012.
- ↑ Announcement on Wikimania-l mailing list]
- ↑ "Wikimania 2014 London".
- ↑ Wikinoticias note about the election of Mexico City as the venue for Wikimania 2015 (in Spanish)
- ↑ Meta page about Wikimania 2015 in Mexico City (in Spanish)
- ↑ Related links:
- ↑ Wikimania 2016 bids/Esino Lario, retrieved 2015-05-17
- ↑ Forrester, James (2015-12-22). "[Wikimania-l] Wikimania 2017 to be held in Montréal in Canada". lists.wikimedia.org (Mailing list). สืบค้นเมื่อ 2017-02-17.
- ↑ "Wikipedia founder kicks off Montreal Wikimania by urging net neutrality". Montreal Gazette. The Canadian Press. 2017-08-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-15. สืบค้นเมื่อ 2017-08-14.
- ↑ Everett-Green, Robert (2017-01-06). "Montreal can count on a double payout, sharing a birthday with Canada". The Globe and Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-07. สืบค้นเมื่อ 2017-02-08.
- ↑ Scott, Douglas (5 February 2018). "Why the theme for Wikimania 2018 will be "Bridging knowledge gaps—the ubuntu way forward" – Wikimedia Blog". blog.wikimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
- ↑ Sara Mörtsell (22 August 2018). "Wikimania kommer till Sverige 2019" (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
- ↑ Meet Emna Mizouni, the newly minted 2019 Wikimedian of the Year, Wikimedia foundation official website.
- ↑ "Wikimania – Wikimania". wikimania.wikimedia.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-09-01.
- ↑ Maher, Katherine. "Wikimania". wikimania.wikimedia.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 7, 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
- ↑ Uzzell, Janeen (January 27, 2021). "Moving Wikimania 2021 to a Virtual Event". diff.wikimedia.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2021. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
- ↑ "Wikimania 2023 in Singapore centers on diversity, collaboration, and the future of free knowledge". Wikimedia Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-10. สืบค้นเมื่อ 2023-09-30.
- ↑ "Wikimania 2023 dates announced". diff.wikimania.org. 30 November 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2022. สืบค้นเมื่อ November 30, 2022.
- ↑ "Welcoming expressions of interest for 2024 Wikimania and beyond". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2023. สืบค้นเมื่อ November 15, 2022.
- ↑ "Netizens Question "Woke Label" For Gender-Neutral Toilets In Singapore" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-18. สืบค้นเมื่อ 2023-09-30.
- ↑ Tham, Irene (2023-09-07). "Can ChatGPT eat Wikipedia's lunch? Wiki doesn't think so". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2023-09-30.
- ↑ "Wikimania 2023: Highlights from the first ever WikiWomen Summit!". diff.wikimedia.org. 2023-09-08.
- ↑ "Organizing Wikimania 2023 : Program design". diff.wikimedia.org. 2023-12-18.
- ↑ "Organizing Wikimania 2023 : Results and Outcomes". diff.wikimedia.org. 2023-12-22.
- ↑ Team, Wikimania Core Organizing; Nadzik; Locesilion, Tar; Pedzich, Wojciech (2023-12-11). "Announcing the Wikimania 2024 dates and venue". Diff (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wikimania ที่ เมตา-วิกิ โครงการสนับสนุนวิกิของมูลนิธิวิกิมีเดีย
- รายงานข่าว
- "Worldwide Wikimania" Sean Dodson, The Guardian, 11 August 2005
- "Rewriting the rule books" Alan Connor, the BBC, 15 August 2005
- "The Many Voices of Wikipedia, Heard in One Place" Robert Levine, The New York Times, 7 August 2006
- "Anybody can edit: A weekend of Wikimania" Ian Sands and Jess McConnell, The Boston Phoenix, 11 August 2006
- "The Neutrality of this Article is Disputed" Katherine Mangu-Ward, Reason, 15 August 2006
- The China Post – "Wikipedia founder rewards volunteers" Monday, August 6, 2007 – By Dimitri Bruyas
- "Wikimedia fans meet to discuss Wikimania" Andy Goldberg, News.com.au, 12 July 2012 1:37AM (retrieved 2012-07-15)
- "How Kate Middleton’s Wedding Gown Demonstrates Wikipedia’s Woman Problem" Torie Bosch, The Slate posted Friday, 13 July 2012, at 18:12 PM EDT (retrieved 2012-07-15)
- "Wikimania hits D.C. as Wikipedia faces changes" Hayley Tsukayama, The Washington Post, 14 July 2012