วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครื่องมือผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดียมักถูกมองว่าเหมือน "ไม้ถูพื้น"

ผู้ดูแลระบบ (อังกฤษ: administrator, admin หรือ sysop) เป็นผู้เขียนวิกิพีเดียซึ่งได้รับคุณลักษณะทางเทคนิคเพื่อดำเนินปฏิบัติการพิเศษจำเพาะในวิกิพีเดียภาษาไทย ทั้งความสามารถที่จะบล็อกและปลดบล็อกบัญชีผู้ใช้และเลขที่อยู่ไอพีมิให้สามารถแก้ไข ล็อกและปลดล็อกหน้ามิให้แก้ไข ลบและกู้คืนหน้า เปลี่ยนชื่อหน้าโดยไม่มีข้อจำกัด และเครื่องมืออื่น

ผู้ดูแลระบบรับความรับผิดชอบเหล่านี้เฉกเช่นอาสาสมัครที่ต้องผ่านกระบวนการทบทวนของชุมชนก่อน หาใช่ลูกจ้างของมูลนิธิวิกิมีเดียไม่ ผู้ดูแลระบบมิเคยถูกกำหนดให้ใช้เครื่องมือของตน และต้องไม่ใช้เครื่องมือนั้นเพื่อประโยชน์ในข้อพิพาทที่เข้าไปเกี่ยวข้องเด็ดขาด นอกเหนือจากมีเครื่องมือพิเศษแล้ว ผู้ดูแลระบบก็มีความสามารถเทียบเท่าชาววิกิพีเดียทั่วไป ไม่มีเอกสิทธิ์หรืออำนาจเหนือผู้อื่น ทั้งการเขียนบทความ เสนอนโยบาย หรือออกความเห็น ทั้งนี้ ชาววิกิพีเดียก็ได้ช่วยดูแลระบบวิกิพีเดียอยู่แล้ว ด้วยการเก็บกวาดบทความ หรือสอดส่องการก่อกวน เป็นต้น

ผู้ดูแลระบบมาจากการเสนอชื่อตนเองหรือถูกเสนอชื่อ (ที่ วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล) โดยผู้นั้นจะต้องมีประสบการณ์การใช้งานวิกิพีเดียระยะหนึ่ง เพื่อให้คุ้นเคยกับหลักต่าง ๆ ของวิกิพีเดีย รวมทั้งเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากชุมชนชาววิกิพีเดีย

ปัจจุบัน วิกิพีเดียภาษาไทยมีผู้ดูแลระบบ 17 คน (รวมบอต)

ความสามารถของผู้ดูแลระบบ

ผู้ดูแลระบบมีความสามารถทางเทคนิคดำเนินการปฏิบัติการดังนี้

  • บล็อกบัญชีผู้ใช้และเลขที่อยู่ไอพีมิให้แก้ไข
  • ล็อกหน้าเพื่อจำกัดการแก้ไข
  • ลบหน้าที่มีรุ่นแก้ไขไม่เกิน 5,000 รุ่น (revision)
  • สร้างบทความที่ชื่อเรื่องอยู่ในบัญชีดำห้ามสร้างได้
  • ย้ายหน้าไปยังชื่อเรื่องใดก็ได้ที่ต้องการ
  • แก้ไขหน้าที่ถูกล็อกสมบูรณ์
  • ดูและกู้คืนหน้าที่ถูกลบ
  • ซ่อนและลบรุ่นหน้า
  • อัปโหลดไฟล์
  • แก้ไขหน้าในเนมสเปซมีเดียวิกิ ยกเว้นหน้าจาวาสคริปต์และซีเอสเอส
  • เพิ่มและเพิกถอนสิทธิแก่บัญชีต่าง ๆ ได้แก่ หมายเลขไอพีที่ยกเว้นจากการระงับ, ผู้อัปโหลด

ตามประเพณี ปกติผู้ดูแลระบบยังรับผิดชอบตัดสินผลของการอภิปรายหนึ่ง ๆ เช่น การอภิปรายเพื่อลบ เปลี่ยนชื่อ เป็นต้น แต่ผู้เขียนอื่นก็สามารถปิดการอภิปรายได้ในเหตุที่เหมาะสม

ที่ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถช่วยได้

ผู้ดูแลระบบที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทยังสามารถช่วยจัดการการเยียวยาของคณะอนุญาโตตุลาการ และการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และสถานการณ์ซึ่งรบกวน ผู้ดูแลระบบที่ดำรงบทบาทนี้เป็นกลาง หาได้มีความเกี่ยวข้องในประเด็นที่กำลังช่วยเหลืออยู่ไม่

การจะเป็นผู้ดูแลระบบ

วิกิพีเดียภาษาไทยมีระเบียบการเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบถูกคาดหวังให้ธำรงความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของชุมชน ฉะนั้น การเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลของผู้ใช้ที่ยังมีประสบการณ์น้อยจึงมักไม่ได้รับอนุมัติ ผู้เขียนแต่ละคนจะประเมินความเชื่อมั่นของตนในความพร้อมของผู้สมัครคนหนึ่ง ๆ ในทางของตน โดยทั่วไป ผู้สมัครเป็นผู้เขียนวิกิพีเดียขาประจำ คุ้นเคยกับวิธีดำเนินงานและวิธีปฏิบัติของวิกิพีเดีย เคารพและเข้าใจนโยบายวิกิพีเดีย และได้รับความไว้วางใจโดยรวมจากชุมชน ก่อนที่จะขอหรือสนองการเสนอชื่อ

เมื่อคุณพร้อมสมัคร ให้เพิ่มการเสนอชื่อคุณในหน้า วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล ตามระเบียบที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จะมีการอภิปรายว่าคุณควรเป็นผู้ดูแลระบบหรือไม่ จากนั้น ผู้ดูแลระบบสิทธิ์แต่งตั้งจะตัดสินว่าควรอนุมัติคำขอของคุณหรือไม่

บุคคลหนึ่งจะมีบัญชีที่มีเครื่องมือผู้ดูแลระบบได้บัญชีเดียวเท่านั้น โดยยกเว้นเฉพาะบอตที่เข้าถึงความสามารถผู้ดูแลระบบ

สิทธิ์ผู้ดูแลระบบไม่มีกำหนดระยะเวลา และถูกเพิกถอนเฉพาะเมื่อมีคำขอเท่านั้น ภายใต้พฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงระดับสูง หรือเพิกถอนชั่วคราวสำหรับผู้ดูแลระบบที่ไม่มีความเคลื่อนไหว

ความคาดหมายในผู้ดูแลระบบ

ความรอบคอบและการวินิจฉัย

หากคุณได้รับสิทธิ์เข้าถึงเครื่องมือผู้ดูแลระบบ คุณจักต้องใช้ฟังก์ชันใหม่นี้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการลบหน้าและบล็อกผู้ใช้และเลขที่อยู่ไอพี ความพลาดพลั้งในบางโอกาสนั้นยอมรับได้ แต่ความพลาดพลั้งร้ายแรงหรือบ่อยครั้งยอมรับไม่ได้เสมอไป

เครื่องมือผู้ดูแลระบบยังต้องใช้ด้วยการวินิจฉัย ผู้ดูแลระบบใหม่ต้องใช้เวลาเรียนรู้ว่าเมื่อใดจึงควรใช้เครื่องมือดีที่สุด และอาจใช้เวลาหลายเดือนเพื่อให้ได้การรับรู้ที่ดีว่าควรตั้งเครื่องมือ เช่น การบล็อกและการล็อกหน้าในข้อพิพาทที่จัดการยาก นานเท่าไร แนะนำอย่างยิ่งให้ผู้ดูแลระบบใหม่เริ่มต้นอย่างช้า ๆ และเสริมสร้างประสบการณ์ในพื้นที่ที่ตนคุ้นเคย และถามผู้อื่นหากไม่มั่นใจ

ความประพฤติ

ผู้ดูแลระบบถูกคาดหวังให้นำโดยตัวอย่างและประพฤติตนในปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยกิริยาอาการที่มีอารยะและน่าเคารพ ผู้ดูแลระบบถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตามนโยบายวิกิพีเดีย และดำเนินหน้าที่ตามความสามารถอย่างดีที่สุด ผู้ดูแลระบบไม่ถูกคาดหวังให้ต้องสมบูรณ์แบบ ความผิดพลาดเป็นบางทีนั้นยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม การรบกวนวิกิพีเดียอย่างต่อเนื่องหรือร้ายแรงนั้นไม่เหมาะสมกับสถานภาพผู้ดูแลระบบ และการวินิจฉัยอย่างเลวสม่ำเสมอหรือมหันต์อาจเป็นผลให้เพิกถอนสถานภาพผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบควรมุ่งมั่นเป็นตัวแบบของมารยาทและความมีอารยะแก่ผู้เขียนอื่น

ผู้ดูแลระบบควรระลึกในใจว่า เขามีเพื่อนร่วมงานอีกหลายคน ฉะนั้น หากพบว่าตนไม่สามารถยึดนโยบายวิกิพีเดียและคงความเป็นอารยะอยู่ได้ (แม้แต่ต่อผู้ใช้ที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา) ขณะกำลังจัดการกับประเด็นหนึ่ง ก็ควรที่ผู้ดูแลระบบนั้นจะหยิบยกประเด็นมายังกระดานประกาศหรือส่งประเด็นดังกล่าวให้ผู้ดูแลระบบอีกคนหนึ่งจัดการแทน แทนที่จะทำให้ปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้นจากความประพฤติที่เลว

ภาระความรับผิด

ผู้ดูแลระบบรับผิดต่อปฏิบัติการของตนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือผู้ดูแลระบบ และปฏิบัติการผู้ดูแลระบบที่ไม่อธิบายอาจบั่นทอนกำลังของผู้อื่นเขียนซึ่งไม่มีเครื่องมือดังกล่าวได้ ผู้เขียนมีอิสระที่จะตั้งคำถามหรือวิจารณ์ปฏิบัติการของผู้ดูแลระบบได้ เพียงแต่อยู่ในขอบเขตของความมีอารยะ หลีกเลี่ยงการว่าร้าย และสุจริตใจอันสมควรแก่เหตุ ผู้ดูแลระบบถูกคาดหวังให้สนองอย่างรวดเร็วและมีอารยะต่อข้อคำถามเกี่ยวกับความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียและปฏิบัติการวิกิพีเดีย และให้อธิบายเหตุผลเมื่อจำเป็น

ผู้ดูแลระบบที่ประพฤติกิริยาอาการที่เป็นปัญหาอย่างร้ายแรงหรือต่อเนื่อง หรือสูญเสียความไว้วางใจหรือความเชื่อมั่นของชุมชน อาจถูกลงโทษหรือเพิกถอนการเข้าถึงสิทธิ์ผู้ดูแลระบบ

ผู้ดูแลระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

โดยทั่วไป ผู้เขียนไม่ควรทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบในกรณีที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะผู้ดูแลระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นอาจมี หรืออาจถูกมองว่ากำลังมี การขัดกันแห่งผลประโยชน์ในข้อพิพาทที่ตนเป็นภาคีหรือที่ตนมีความรู้สึกอย่างแรงกล้า ตามปกติ ชุมชนตีความการมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างกว้างมาก จนรวมถึงความขัดแย้งในปัจจุบันหรืออดีตกับผู้ใช้ และข้อพิพาทว่าด้วยหัวข้อ ไม่ว่าข้อพิพาทนั้นจะมีสภาพ ระยะเวลา หรือผลอย่างไรก็ตาม

คำเตือนสำคัญหนึ่ง คือ ผู้ดูแลระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เขียนหรือพื้นที่หัวข้อในบทบาทผู้ดูแลระบบทั้งหมด หรือผู้ที่การมีส่วนเกี่ยวข้องก่อนหน้านี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อยหรือชัดเจนว่าไม่มีความลำเอียง นั้นไม่ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ถูกกันมิให้ทำหน้าที่ด้วยความสามารถผู้ดูแลระบบต่อ ผู้ใช้หรือพื้นที่หัวข้อนั้น เหตุเพราะบทบาทหนึ่งของผู้ดูแลระบบ คือ จัดการกับประเด็นนั้นอย่างเที่ยงตรง คำเตือน การทำให้สงบ และการอภิปรายและอธิบายคำเตือนเหล่านั้นอย่างสมควรแก่เหตุ การแนะนำเกี่ยวกับบรรทัดฐานชุมชน และการเสนอแนะการใช้คำและการทาบทามที่เป็นไปได้นั้นมิได้ทำให้ผู้ดูแลระบบ "มีส่วนเกี่ยวข้อง"

ในกรณีที่ไม่ซับซ้อน (เช่น การก่อกวนโจ่งแจ้ง) ชุมชนสนับสนุนปฏิบัติการที่ชัดเจนของผู้ดูแลระบบทุกคน แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้อง บนเหตุผลว่า ผู้ดูแลระบบที่สมเหตุผลรายใดก็เป็นไปได้ว่ามีข้อสรุปเดียวกัน แม้จะมีข้อยกเว้นการห้ามผู้เขียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องใช้ปฏิบัติการผู้ดูแลระบบ แต่ก็ยังเป็นการดีที่สุดที่ผู้ดูแลระบบที่อาจถูกมองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องส่งประเด็นนั้นไปยังผู้ดูแลระบบคนอื่นผ่านกระดานประกาศที่เกี่ยวกับประเด็นนั้น

การร้องทุกข์โดยผู้ใช้

หากผู้ใช้คนหนึ่งคนใดเชื่อว่าผู้ดูแลระบบทำหน้าที่ไม่เหมาะสม ผู้ใช้นั้นควรแสดงความกังวลไปยังผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบโดยตรง และพยายามบรรลุมติอย่างสงบเรียบร้อยและสุภาพ อย่างไรก็ดี หากประเด็นดังกล่าวไม่สามารถระงับได้ระหว่างภาคีทั้งสอง ผู้ใช้สามารถใช้การกระทำอื่น (ดูกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วย) หมายเหตุ: หากผู้ใช้ที่กำลังร้องทุกข์นั้นถูกผู้ดูแลระบบบล็อกอย่างไม่เหมาะสม ผู้นั้นอาจอุทธรณ์การบล็อก และ/หรือ ส่งอีเมลไปยังคณะอนุญาโตตุลาการโดยตรง

ทางหนึ่งที่สามารถใช้ได้คือ ผ่านทางหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ เพื่อขอความเห็นจากชุมชน ทว่า ผู้ร้องทุกข์ควรทราบด้วยว่ามักมีการทบทวนพฤติกรรมของผู้ร้องด้วยเช่นกัน

การใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบโดยมิชอบ

การใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบโดยมิชอบถือเป็นประเด็นร้ายแรง เครื่องมือผู้ดูแลระบบนั้นมีไว้สำหรับผู้ใช้ที่ได้รับความไว้วางใจเพื่อการบำรุงรักษาและภารกิจอื่น และควรใช้ด้วยปัญญา การใช้เครื่องมือโดยมิชอบอาจลงเอยด้วยการลงโทษหรือกระทั่งการเพิกถอนสิทธิ์

สถานการณ์สามัญที่มักกำหนดให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือมีดังนี้

  • การขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือความไม่เป็นกลาง – ตามปกติผู้ดูแลระบบไม่ควรใช้เครื่องมือของตนในเรื่องที่ตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเอง ตัวอย่างเช่น ในข้อพิพาทด้านเนื้อหาที่ตนเป็นภาคีหนึ่ง ดู ผู้ดูแลระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • บรรทัดฐานชุมชนหรือนโยบาย – เมื่อบรรทัดฐานชุมชนหรือนโยบายชัดเจนว่าไม่ควรใช้เครื่องมือก็ไม่ควรใช้เครื่องมือโดยปราศจากคำอธิบายที่แสดงว่าไตร่ตรองเรื่องดังกล่าวแล้ว และเหตุผลที่ข้อยกเว้นควรถือว่าสมเหตุสมผลอย่างแท้จริง (พบน้อย)
  • การย้อนปฏิบัติการของผู้ดูแลระบบอื่น – เฉพาะในกิริยาอาการที่เคารพผู้ดูแลระบบที่ดำเนินปฏิบัติการนั้น และหลังปรึกษาผู้ดูแลระบบคนดังกล่าวแล้ว
  • การคืนปฏิบัติการผู้ดูแลระบบที่เคยถูกย้อนแล้ว – ผู้ดูแลระบบที่กระทำดังนี้อาจถึงขั้นการอนุญาโตตุลาการและถอดถอนผู้ดูแลระบบแม้กระทำเป็นครั้งแรก

แม้เมื่อการใช้เครื่องมือดูสมควรแก่เหตุ หากมีข้อสงสัยที่สมเหตุผลควรถามผู้ดูแลระบบที่ไม่มีส่วนได้เสียคนอื่นเพื่อทบทวนและลงมือ (หากชอบ) จะดีกว่า

การทบทวนและการถอดถอนผู้ดูแลระบบ

หากผู้ดูแลระบบใช้อำนาจโดยมิชอบ อำนาจนั้นสามารถถูกเพิกถอนได้โดยคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการอาจยังประเมินการลงโทษที่เล็กน้อยกว่าต่อผู้ดูแลระบบที่เป็นปัญหา รวมทั้งการจำกัดการใช้ฟังก์ชันบางอย่าง หรือกำหนดคุมประพฤติผู้ดูแลระบบ ความสามารถทางเทคนิคที่จะถอดถอนสถานภาพผู้ดูแลระบบอยู่กับผู้จัดการโครงการ (stewards) และจิมโบ เวลส์

ไม่มีวิธีดำเนินการถอดถอนผู้ดูแลระบบที่อาศัยชุมชน ผู้ใช้อาจใช้การระงับข้อพิพาทเพื่อขอความเห็นต่อความเหมาะสมของผู้ดูแลระบบคนใดคนหนึ่ง ผู้ใช้อาจใช้การระงับข้อพิพาทเพื่อขอความเห็นว่าด้วยความเหมาะสมของผู้ดูแลระบบคนหนึ่ง ๆ

บันทึกทางเทคนิค – ปัจจุบันการเพิกถอนสิทธิ์ที่ผู้จัดการโครงการเป็นผู้ดำเนินการยังไม่แสดงในปูมผู้ใช้ตามปกติ ใช้ {{Userrights|ชื่อผู้ใช้}} เพื่อดูลิงก์ทั้งหมดของสารสนเทศสิทธิ์ผู้ใช้และปูมสมบูรณ์ รวมทั้งปูมทั่วโลกของผู้จัดการโครงการทางเมทาเช่นเดียวกัน หรือ Special:ListUsers เพื่อยืนยันสิทธิ์ปัจจุบันของผู้ใช้ ดู Bugzilla:4055

การเพิกถอนด้วยใจสมัคร

ผู้ดูแลระบบอาจร้องขอให้เพิกถอนการเข้าถึงเครื่องมือผู้ดูแลระบบด้วยตนเองที่เมทาวิกิ และผู้ดูแลโครงการได้ดำเนินการตามคำร้องนั้น

คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (ปัจจุบันไม่มี)

ดูรายละเอียด

คณะอนุญาโตตุลาการ (คอต.) วินิจฉัยว่า ควรระงับสิทธิผู้ดูแลระบบด้วยเหตุเหล่านี้

  • ว่างเว้นจากวิกิพีเดียภาษาไทย
    • หากผู้ดูแลท่านใดมีการแก้ไขไม่ถึง 50 ครั้ง และ/หรือใช้คุณลักษณะที่สงวนไว้เฉพาะผู้ดูแลระบบ ("เครื่องมือดูแลระบบ") ไม่ถึง 10 ครั้ง ในปีที่ผ่านมา ผู้ใช้พื้นฐานในวิกิพีเดียภาษาไทย (คือ ไม่รวมผู้ใช้ใหม่ บอต และผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน) จะยกเรื่องระงับสิทธิ์ผู้ดูแลนั้นขึ้นมาให้ คอต. พิจารณาเมื่อใดก็ได้
    • หาก คอต. พิจารณาว่าควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบ จะแจ้งให้ผู้ดูแลระบบท่านนั้นทราบทางหน้าพูดคุยในวิกิพีเดียภาษาไทย (และฟังก์ชันการส่งอีเมลของมีเดียวิกิหากผู้ใช้นั้นเปิดรับอีเมล รวมถึงช่องทางอย่างเป็นทางการอื่นของวิกิพีเดียที่อาจเปิดขึ้นในอนาคต) หากเวลา 30 วันล่วงไปแล้วไม่มีการคัดค้านด้วยเหตุผลอันสมควรจากผู้ดูแลระบบท่านดังกล่าว ให้ถือว่าคำวินิจฉัยเป็นที่สุด และแจ้งให้ทางเมทาวิกิดำเนินการระงับสิทธิ์ต่อไป หากมีการคัดค้าน คอต. จะพิจารณารับฟังเหตุผลจากทุกฝ่ายก่อนจะออกคำวินิจฉัยใหม่ตามความเหมาะสม
    • หาก คอต. วินิจฉัยว่าไม่ควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบท่านใดเนื่องด้วยมีเหตุผลอันสมควร ผู้ใดจะนำเรื่องระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบท่านนั้นด้วยเหตุว่างเว้นจากวิกิพีเดีย มาเข้าสู่การพิจารณาของ คอต. อีกได้ก็ต่อเมื่อพ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่มีคำวินิจฉัยไปแล้ว
    • การระงับสิทธิ์เป็นไปเพื่อความปลอดภัยและการบริหารจัดการวิกิพีเดียภาษาไทย ไม่ถือเป็นมาตรการสกัดกั้น (block) และไม่ถือเป็นประวัติด่างพร้อย ผู้ดูแลระบบที่ถูกระงับสิทธิ์แล้วจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ดูแลระบบใหม่อีกได้
  • มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลระบบ หรือขณะปฏิบัติหน้าที่ส่วนตนในวิกิพีเดียแต่พฤติการณ์นั้นส่งผลต่อวิกิพีเดียภาษาไทยและสร้างความเสื่อมเสียต่อผู้ดูแลระบบโดยรวม อาทิ
    • พฤติกรรมต่อหน้าต่าง ๆ ของวิกิพีเดีย: ป้องกันหน้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรหรือสกัดกั้นรุนแรงเกินกว่าเหตุ ลบหน้าหรือไฟล์หรือบางส่วนของหน้าหรือไฟล์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้งนี้รวมถึงการใช้ตัวกรองการแก้ไข หรือเครื่องมืออื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อหน้าและไฟล์ในวิกิพีเดีย (เว้นแต่ความบกพร่องโดยสุจริต)
    • พฤติกรรมต่อผู้ใช้วิกิพีเดีย: กล่าวหาโดยปราศจากมูลเหตุหรือหลักฐาน หรือกล่าวหาในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ว่าร้าย เสียดสี กดขี่ข่มเหง ทั้งที่กระทำโดยตรงและทำในเชิงเหน็บแนมหรือเชิงคำถาม สกัดกั้นผู้ใช้หรือไอพีโดยปราศจากเหตุอันสมควรหรือสกัดกั้นรุนแรงเกินกว่าเหตุ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ดังกล่าวในหน้าพูดคุยเป็นสิทธิ์ส่วนตนของบุคคลนั้นในการร้องเรียน และผู้ใช้ไม่ล็อกอินก็มีสิทธิ์ร้องเรียนเพื่อรักษาสิทธิ์ของตน
    • พฤติกรรมต่อชุมชนวิกิพีเดีย: บังคับใช้นโยบายที่ยังไม่มีการรับรอง เสนอนโยบายโดยมีผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องแอบแฝง เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนหรือกระทบกระเทือนต่อผู้เขียนและ/หรือผู้อ่านวิกิพีเดีย (ทั้งนี้ไม่รวมการแสดงความเห็นส่วนตนโดยสุจริตแม้ต่างจากเสียงส่วนใหญ่) พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อสาธารณะเช่นนี้ ผู้ใช้พื้นฐานในวิกิพีเดียภาษาไทยมีสิทธิ์ร้องเรียน เช่นเดียวกับกรณีการว่างเว้นจากวิกิพีเดีย
    • หมายเหตุ: ความผิดในหน้าพูดคุยส่วนตัวอาจถือเป็นเรื่องส่วนตนที่ยอมความกันได้ แต่ความผิดในหน้าของชุมชน แม้คู่กรณีจะให้อภัยกันแล้ว ยังอยู่ในข่ายการพิจารณาของ คอต.

การคืนสิทธิผู้ดูแลระบบ

ผู้เขียนที่ถูกถอดถอนสิทธิผู้ดูแลระบบมีอิสระที่จะเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบอีกได้ผ่านกระบวนการเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบตามปกติ ยกเว้นจะเจาะจงห้ามตามการเห็นพ้องต้องกันของชุมชนก่อนหน้า หรือโดยคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

รายชื่อผู้ดูแลระบบ

ดูเพิ่ม