ภาษาแสก
หน้าตา
แสก | |
---|---|
แถร̄ก | |
ประเทศที่มีการพูด | ลาว, ไทย |
จำนวนผู้พูด | 10,000 คน (2007–2015)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรไทย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | skb |
ภาษาแสก เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไทที่ชาวแสกใช้พูดบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขงในแขวงคำม่วน ประเทศลาวและจังหวัดนครพนม ประเทศไทย ผู้พูดภาษานี้เหลือน้อยเพราะคนรุ่นใหม่หันไปพูดภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากขึ้น
ตัวอย่าง
[แก้]แม้ภาษาแสกจะอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท แต่ก็ได้มีการปะปนกับภาษาเวียดนามบางคำจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากภาษาอีสานทั่วไป เช่น
แสก | ไทย | เทียบภาษาอื่น |
---|---|---|
เกดทุ่ง | ปวดท้อง | |
เกดเทรา | ปวดหัว | |
เค้า | สะพาน | เวียดนาม: cầu (เกิ่ว)
กวางตุ้ง: 橋 (ขิ่ว) |
โคกพลา | ภูเขา | |
จู้ | น้ำนม | |
ดังกึ๊น | กลางคืน | |
ดังแง้น | กลางวัน | |
พา | ภรรยา | |
ลุ้ย | ลาก | จีนกลาง: 拉 (ล้า)
กวางตุ้ง: 拉 (ล้าย) |
ลู้ | วิง | |
หง่อน | อร่อย | เวียดนาม: ngon (งอน) |
หอก | สามี | |
ห่อยผลั่ม | หวีผม | |
เหล่าก๊าว | เหม็นสาบ | |
ฮุนดี | คนดี |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แสก ที่ Ethnologue (25th ed., 2022)