ภาษาอีสาน
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจากขาดข้อมูลสำคัญในหลายประเด็น คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ภาษาไทยถิ่นอีสาน | |
---|---|
ภาษาไทยถิ่นอีสาน, ลาว, (ไม่ทางการ) | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา |
ภูมิภาค | ภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ในพื้นที่ใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร |
ชาติพันธุ์ | คนอีสาน (ไทลาว). ภาษาที่สองหรือสามของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มในภาคอีสาน |
จำนวนผู้พูด | 13-16 ล้านคน (2005)[1] 22 ล้านคน (2013) (L1 และ L2)[1][2] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ไทน้อย อักษรธรรมลาว (อดีต, ศาสนา) อักษรไทย |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ไทย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | tts |
ภาษาอีสาน[3] หรือ ภาษาลาวอีสาน[4] หรือ ภาษาไทยถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่นิยมกล่าวถึงในเอกสารราชการไทยว่า ภาษาไทยถิ่นอีสาน[5] เป็นการพัฒนาในท้องถิ่นของภาษาลาวในประเทศไทย ผู้พูดในท้องถิ่นยังคงคิดว่าเป็นภาษาลาว[6] รัฐบาลไทยยอมรับภาษานี้เป็นสำเนียงภาษาไทย ทั้งชาวไทยและลาวมีความเข้าใจร่วมกันยาก เพราะแม้ว่าจะมีคำร่วมเชื้อสายในพจนานุกรมกว่าร้อยละ 80 ทั้งลาวและอีสานมีระดับเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันมากและมักใช้คำจากภาษาไทย จึงทำให้เกิดการขัดขวางความเข้าใจระหว่างกันโดยไม่มีการเปิดรับก่อน[7]
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ทางนักวิชาการไทยในมหาวิทยาลัยในภาคอีสานได้ดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับภาษานี้ โดยบางส่วนได้เริ่มมีผลในการช่วยรักษาภาษาที่กำลังหายไป อุปถัมภ์ด้วยการเติบโตในด้านการรับรู้และชื่นชมวัฒนธรรม, วรรณกรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น[8][7]
สำเนียง
[แก้]ภาษานี้แบ่งออกเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ
- ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน โคกโพธิ์ไชยบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ) นครราชสีมา (อำเภอสูงเนิน ปักธงชัย)
- ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไซยะบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
- ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
- ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร
- ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ (อำเภอรัตนบุรี)
- ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ดหรือภาษาลาวอีสาน) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ หนองคาย (บางหมู่บ้าน) นครราชสีมา (อำเภอบัวใหญ่ บัวลาย สีดา แก้งสนามนาง ประทาย โนนแดง บ้านเหลื่อม เมืองยาง ลำทะเมนชัย คง ห้วยแถลง ชุมพวง จักราช) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม สำเนียงนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ส่วนมากของภาคอีสานสำเนียงนี้ส่วนมากจะใช้"สระเอียแทนสระเอือ"ในปัจจุบันจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสำเนียงกลางหรือสำเนียงมาตรฐานของภาษาอีสาน เทียบเท่ากับ แหลงใต้ อู้คำเมือง พูดไทยกลาง ของแต่ละภาค
ส่วนภาษาเขียนในอดีตใช้อักษรธรรมล้านช้าง หรือตัวธรรม สำหรับบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะ หรือพระพุทธศาสนา และเขียนด้วยอักษรไทน้อย หรือตัวลาวเดิม (เป็นอักษรลาวล้านช้างโบราณมีความแตกต่างกับอักษรลาวในประเทศลาวในปัจจุบันเล็กน้อย) สำหรับเรื่องราวทางโลก อักษรลาวล้านช้าง (ตัวลาวหรืออักษรไทน้อย) มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียงพยัญชนะภาษาอีสานในการเขียนและออกเสียงบางตัวก็มีต่างจากภาษาไทยกลาง เช่น ช เป็น ซ , ฉ เป็น ส , ย เป็น ญ และในบางพื้นที่ก็ออกเสียง ก เป็น จ , ด เป็น ล , ข เป็น ห และไม่มีเสียงควบกล้ำสระเอือแต่จะใช้สระเอียแทน ในปัจจุบันนิยมใช้ อักษรไทยสำหรับเขียนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรธรรมและอักษรลาวออก แต่ความนิยมในการเขียนบันทึกเป็นภาษาถิ่นไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก โดยส่วนใหญ่ภาษาเขียนในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะใช้อักษรไทยและบันทึกเป็นภาษาไทยกลางเป็นหลักแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination. (2011). Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: First to third periodic reports of States parties due in 2008, Thailand. (GE.11-46262 (E) 141011 181011). New York NY: United Nations.
- ↑ Paul, L. M., Simons, G. F. and Fennig, C. D. (eds.). 2013. Ethnologue: Languages of the World, Seventeenth edition. Dallas, Texas: SIL International. Retrieved from http://www.ethnologue.com
- ↑ "กลุ่มชาติพันธุ์ : ลาวอีสาน". ศูนย์ข้อมูลมานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-13. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.
- ↑ "ภาษาลาวอีสานที่ถูกกำกับโดยศูนย์กลางอำนาจส่วนกลาง". เดอะอีสานเรคคอร์ด. 2020-04-19.
- ↑ กิ่งคำ, วิไลศักดิ์ (2007). "ภาษาไทยถิ่นอีสาน : มรดกวัฒนธรรมบ้านเกิด". วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย. 1 (1): 58–75.
- ↑ Keyes, Charles F. (1966). "Ethnic Identity and Loyalty of Villagers in Northeastern Thailand". Asian Survey.
- ↑ 7.0 7.1 Draper, John (2004). "Isan: The planning context for language maintenance and revitalization". Second Language Learning and Teaching. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-11.
- ↑ Phra Ariyuwat. (1996). Phya Khankhaak, the Toad King: A Translation of an Isan Fertility Myth in Verse . Wajuppa Tossa (translator). (pp. 27–34). Lewisburg, PA: Bucknell University Press.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Hayashi, Yukio. (2003). Practical Buddhism among the Thai-Lao. Trans Pacific Press. ISBN 4-87698-454-9.
- เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. ภาษาถิ่นตระกูลไทย. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล. 2531.
- อีสานร้อยแปด. พจนานุกรมภาษาอีสาน. อีสาน : https://esan108.com/dict
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Basic Isaan phrases เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Some basic Isaan phrases with sound files).
- McCargo, Duncan, and Krisadawan Hongladarom. "Contesting Isan‐ness: discourses of politics and identity in Northeast Thailand." Asian Ethnicity 5.2 (2004): 219-234.
- พจนานุกรมภาษาอีสาน
- โครงการอักษรอีสาน
- อักษรไทน้อย
- ความเป็นมาของอักษรไทยน้อย เก็บถาวร 2021-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ความเป็นมาของอักษรธรรมอีสาน เก็บถาวร 2020-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน