กลุ่มภาษาสลาฟ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาษาสลาฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มภาษาสลาฟ
กลุ่มภาษาสลาวอนิก
กลุ่มเชื้อชาติ:ชาวสลาฟ
ภูมิภาค:ทั่วยุโรปกลางและตะวันออก, เอเชียกลาง และรัสเซีย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
อินโด-ยูโรเปียน
ภาษาดั้งเดิม:สลาฟดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:sla
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:53= (phylozone)
กลอตโตลอก:slav1255[1]
{{{mapalt}}}
แผนที่ของยุโรปที่มีภาษาสลาฟเป็นภาษาประจำชาติ (สีเขียว)
  ประเทศที่มีกลุ่มภาษาสลาฟตะวันตกเป็นภาษาประจำชาติ
  ประเทศที่มีกลุ่มภาษาสลาฟตะวันออกเป็นภาษาประจำชาติ
  ประเทศที่มีกลุ่มภาษาสลาฟใต้เป็นภาษาประจำชาติ

กลุ่มภาษาสลาฟ (อังกฤษ: Slavic languages) หรือ กลุ่มภาษาสลาวอนิก (Slavonic languages) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาบอลต์-สลาฟ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน กลุ่มภาษาสลาฟเป็นภาษาแม่ของชาวสลาฟ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกและคาบสมุทรบอลข่าน

กลุ่มภาษาสลาฟ

สาขา

[แก้]

กลุ่มภาษาสลาฟแบ่งได้เป็น 3 สาขา ดังต่อไปนี้

ลักษณะร่วมกัน

[แก้]
  • กลุ่มภาษาสลาฟมีเสียงพยัญชนะจำนวนมากที่มีลักษณะลิ้นส่วนหน้าสู่เพดานแข็งควบคู่กับเสียงพยัญชนะที่มีลักษณะปกติ
  • กลุ่มภาษาสลาฟมีเสียงพยัญชนะควบที่ซับซ้อนกว่าภาษาไทยมาก เช่น คำว่า žblnknutie ในภาษาสโลวัก ซึ่งมีเสียงพยัญชนะถึงหกเสียงที่เป็นเสียงพยัญชนะต้นในพยางค์แรก

ตัวอย่างคำร่วมเชื้อสาย

[แก้]
สลาฟดั้งเดิม รัสเซีย โปแลนด์ เช็ก สโลวัก บัลแกเรีย ภาษาโครเอเชีย เซอร์เบีย เบลารุส สโลวีเนีย โครเอเชีย บอสเนีย ยูเครน มาซิโดเนีย
*ogъnь (ไฟ) огонь ogień oheň oheň огън oganj огањ агонь ogenj oganj oganj вогонь оган
*ryba (ปลา) рыба ryba ryba ryba риба riba риба рыба riba riba riba риба риба
*gnězdo รังนก) гнездо gniazdo hnízdo hniezdo гнездо gnijezdo гнездо гняздо gnezdo gnijezdo gnijezdo гнiздо гнездо
*oko (ดวงตา) глаз (око) oko oko oko око oko око вока oko oko oko око око

อิทธิพลต่อภาษาอื่น

[แก้]

ภาษาเกือบทั้งหมดของประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ภาษาของชนกลุ่มน้อยในรัสเซีย รวมทั้งภาษาของประเทศเพื่อนบ้านของรัสเซียต่างก็ได้รับอิทธิพลจากภาษารัสเซีย โดยเฉพาะในด้านคำศัพท์ ภาษาโรมาเนีย ภาษาแอลเบเนีย และภาษาฮังการี ซึ่งประเทศของภาษาเหล่านี้ต่างก็รายล้อมไปด้วยประเทศที่มีกลุ่มภาษาสลาฟเป็นภาษาประจำชาติอยู่รายล้อม ก็ได้รับอิทธิพลทางภาษาไปด้วยเช่นกัน โดยแต่ละภาษาจะมีคำยืมจากกลุ่มภาษาสลาฟอยู่อย่างน้อย 20% ของจำนวนคำทั้งหมด ภาษาโรมาเนียเองก็ยังได้รับอิทธิพลของกลุ่มภาษาสลาฟในด้านอื่น ๆ ทั้ง สัทศาสตร์ วากยสัมพันธ์ และไวยากรณ์

กลุ่มภาษาเจอร์แมนิกจะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาสลาฟน้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน เพราะว่าชาวสลาฟมักจะอพยพลงไปทางใต้มากกว่า แทนที่จะไปทางตะวันตก มีแนวโน้มที่จะลดอิทธิพลของกลุ่มภาษาสลาฟในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกด้วยเหตุผลทางการเมือง มีเพียงภาษายิดดิชเพียงภาษาเดียวเท่านั้น ที่พอจะมีอิทธิพลของกลุ่มภาษาสลาฟที่เห็นได้ชัด แต่ก็ยังพบอิทธิพลดังกล่าวอยู่ในภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น คำว่า Grenze (ชายแดน) ในภาษาเยอรมัน มาจากคำว่า *granica ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายของกลุ่มภาษาสลาฟ คำว่า quark (เนยแข็งชนิดหนึ่ง) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งยืมมาจากคำว่า Quark ในภาษาเยอรมัน ก็มาจากคำว่า tvarog ในภาษาสวีเดนยังมีคำว่า torg (ตลาด) tolk (ล่าม) และ pråm (เรือบรรทุก) ซึ่งมาจากคำว่า tъrgъ[2] tlŭkŭ[3] และ pramŭ[4] ในกลุ่มภาษาสลาฟตามลำดับ

คำว่า pistol และ robot ซึ่งเป็นคำในภาษาเช็ก ก็เป็นคำที่มีใช้ในหลาย ๆ ภาษา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Slavic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. (สวีเดน) Hellquist, Elof (1922). "torg". Svensk etymologisk ordbok. Project Runeberg. สืบค้นเมื่อ 2006-12-27.
  3. (สวีเดน) Hellquist, Elof (1922). "tolk". Svensk etymologisk ordbok. Project Runeberg. สืบค้นเมื่อ 2006-12-27.
  4. (สวีเดน) Hellquist, Elof (1922). "pråm". Svensk etymologisk ordbok. Project Runeberg. สืบค้นเมื่อ 2006-12-27.