CURRICULUM – Energy Engineering

CURRICULUM

Download more detail curriculum

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทนและยั่งยืน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ภาควิชา

วิศวกรรมศาสตร์

สถานที่เรียน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ค่าใช้จ่าย

ค่าบำรุงการศึกษาโดยประมาณ เหมาจ่าย 20,000 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

147 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

– หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
– หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
– รับเฉพาะนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้ดี
– เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
– ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ระบบการจัดการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่ง 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้กําหนดระยะเวลาโดยสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการการศึกษาปกติ ข้อกําหนดต่างๆ ไปเป็นตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2554
มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน

การดำเนินการหลักสูตร

ดำเนินการเรียนการสอน ในวันธรรมดา (แต่อาจมีบางวิชาหรือบางครั้งที่ต้องเรียนวันเสาร์-อาทิตย์)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

การออกแบบหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมพลังงานทดแทนและยั่งยืน (Renewable and Sustainable Energy Engineering Program) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ที่พัฒนามาจากหลักสูตรวิศวกรรมพลังงาน โดยเป็นการผสมผสานกันระหว่างวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมเครื่องกลและวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมพลังงาน ดังนั้นหลักสูตรจึงถูกออกแบบให้มีการบูรณาการความรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อการผลิตและการใช้พลังงานในปัจจุบันที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านของประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นพลังงานทดแทนจึงถูกนำมาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกๆภาคส่วน เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้มีการผลิตและการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งพลังงานทดแทนในแต่ละรูปแบบมีคุณลักษณะและข้อจำกัดที่แตกต่างกันจากหลายๆปัจจัย ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านพลังงานทดแทน

การออกแบบหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมพลังงานทดแทนและยั่งยืน (Renewable and Sustainable Energy Engineering Program) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ที่พัฒนามาจากหลักสูตรวิศวกรรมพลังงาน โดยเป็นการผสมผสานกันระหว่างวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมเครื่องกลและวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมพลังงาน ดังนั้นหลักสูตรจึงถูกออกแบบให้มีการบูรณาการความรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อการผลิตและการใช้พลังงานในปัจจุบันที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านของประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นพลังงานทดแทนจึงถูกนำมาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกๆภาคส่วน เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้มีการผลิตและการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งพลังงานทดแทนในแต่ละรูปแบบมีคุณลักษณะและข้อจำกัดที่แตกต่างกันจากหลายๆปัจจัย ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านพลังงานทดแทน

โครงสร้างของหลักสูตร

การศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมพลังงานมีจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมด 128 หน่วยกิต ประกอบไปด้วยการศึกษาในหมวดวิชาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต และหมวดวิชาเฉพาะ 92 หน่วยกิต (ในหมวดวิชาเฉพาะประกอบไปด้วยกลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรม และกลุ่มวิชาเลือกเฉพาะสาขา) โดยในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาต้องไปทำงานในสถานประกอบการ (สหกิจศึกษา) เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ภาคการศึกษา

ทักษะเเละผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหลังสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับทักษะของการวิเคราะห์และการปฏิบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการดำเนินงาน เกี่ยวกับการผลิตพลังงาน การใช้พลังงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงานอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและหลักทางเศรษฐศาสตร์ (ทั้งนี้ก่อนนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะต้องเข้ารับการทดสอบความรู้จากกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน ซึ่งเมื่อสอบผ่านจะได้รับวุฒิบัตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน)

ความร่วมมือ

มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในด้านการออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านพลังงาน
มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนในกลุ่มธุรกิจพลังงาน กลุ่มอาคารและโรงงานควบคุม และภาคอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในด้านการฝึกงานและสหกิจศึกษา เช่น บริษัท จีไอ กรีน พาวเวอร์ จำกัด (อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร) และบริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

อาชีพ

วิศวกรซ่อมบำรุงที่เกี่ยวข้องกับระบบพลังงาน เช่น การซ่อมบำรุงหม้อน้ำ และระบบทำความเย็น
วิศวกรโรงงานตามสายการผลิต
วิศวกรประจำโรงไฟฟ้า (พลังงานฟอสซิลและพลังงานทดแทน)
วิศวกรออกแบบระบบพลังงาน
นักวิชาการทางด้านเทคโนโลยีพลังงาน หรือการอนุรักษ์พลังงาน
เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่น คิดค้นและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทน
วิศวกรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารหรือโรงงานควบคุม

ผู้ประสานงานหลักสูตร

ผศ.ดร.นฤบดี ศรีสังข์
โทร. 081-911-9769
e-mail: naruebodee.sr@kmitl.ac.th
oat_2520@hotmail.com
Line ID: oat_252