โครงการภาคสนามการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนและความปลอดภัย

เนื่องด้วยศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ด่านช้าง สังกัดวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำวัสดุนาโนที่ได้นำเสนอและเผยแพร่ให้เกษตรกรทั่วไปได้เข้าใจและสร้างทัศนคติที่ดีในเรื่องวัสดุนาโนกับการเพาะปลูก แทนการใช้สารเคมีแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และยังสามารถให้เกษตรกรมีความคิดสร้างสรรค์นำเอาสมบัติอื่นของวัสดุนาโนไปใช้ควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ด้วย ซึ่งโครงการภาคสนามการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนและความปลอดภัยนี้จะเป็นโครงการที่สร้างความมั่นใจในการใช้งานวัสดุนาโนเป็นอย่างมาก โดยโครงการจะมีการเก็บตัวอย่างดินและน้ำ ในพื้นที่ที่ใช้วัสดุนาโนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ โดยนำนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมวัสดุนาโน ของวิทยาลัยนาโนฯ ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างให้เกิดการเกิดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากการเรียนรู้นอกห้องเรียนมาสำรวจพื้นที่การเกษตรจริง ได้มาทำการวิเคราะห์คุณภาพดินและน้ำ แล้วนำมาเปรียบเทียบค่าแร่ธาตุหรือสารตกค้างที่พบนั้นเกิดจากวัสดุนาโนที่นำไปใช้กับพืช และผลที่วิเคราะห์แจ้งเป็นข้อมูลใช้ปรับปรุงสภาพดินและน้ำต่อไป การเก็บตัวอย่างได้จากสถานที่จริงที่เป็นชุมชนเกษตรกรข้างเคียงศูนย์วิจัยนาโนฯ ในตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีการนำเอาวัสดุนาโนไปใช้อย่างแพร่หลายแล้วและได้ผลตอบรับที่ดีคือช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพจากการที่วัสดุนาโนไปยับยั้งโรคของพืชและลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีได้จริง ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุภาพของผู้บริโภคและตัวของเกษตรกรเอง ซึ่งทางวิทยาลัยฯ มีนโยบายหวังให้มีการทำเกษตรที่ยั่งยืนเป็นเกษตรอินทรีย์ และส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงสามารถพึ่งตนเองได้  นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมความรู้ให้กระบวนการวิเคราะห์ถึงความปลอดภัยในการใช้วัสดุนาโน ตลอดจนสิ่งแวดล้อม

<< อัลบัมรูป >>

โครงการภาคสนามการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนและความปลอดภัยและกิจกรรมด้านดาราศาสตร์ ประจำปี 2558

ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร วิทยาลัยนาโนพระจอมเกล้าลาดกระบัง สจล. ได้จัดให้มี โครงการภาคสนามการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนและความปลอดภัยและกิจกรรมด้านดาราศาสตร์ ประจำปี 2558 ในระหว่างวันที่ 8-17 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ด่านช้าง หมู่ 3 ต.องค์พระ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

โครงการภาคสนามการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนและความปลอดภัย ประจำปี 2558

nanosafty1

เนื่องด้วยศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร สังกัดวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สจล. ได้ดำเนินโครงการภาคสนามการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนและความปลอดภัยและกิจกรรมด้านดาราศาสตร์ ประจำปี ๒๕๕๘ ที่ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ด่านช้าง หมู่ ๓ ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ในระหว่างวันที่ ๘-๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีรายละเอียดตามกำหนดการที่แนบมา โดยกิจกรรมหลักมีดังนี้

  • การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของดินและน้ำ เพื่อวิเคราะห์แร่ธาตุและสารตกค้างของวัสดุนาโน
  • กิจกรรมทางดาราศาสตร์ ร่วมดูดาว ถ่ายรูปกลุ่มดาวและเนบิวลา ที่ลานดูดาวนาโนพระจอมเกล้าลาดกระบัง ด่านช้าง
  • ร่วมใจบำรุงรักษ์มเหสักข์-สักสยามินทร์ อายุครบ ๒ ปี ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

nanosafty2

โครงการภาคสนามการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนและความปลอดภัย 2557

วิทยาลัยนาโนฯ ได้จัดให้มี โครงการภาคสนามการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนและความปลอดภัย (Nano Safty) ประจำปี 2557 ในวันที่ 17 – 24 ธันวาคม 2557 ณ ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ด่านช้าง ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบผลกระทบจากการใช้วัสดุนาโนต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ของเกษตรกรที่ร่วมในโครงการวิจัย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อความแน่ใจในความปลอดภัยจากการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนของประชาชนทั่วไป

ทั้งนี้ วิทยาลัยนาโนฯ ได้จัดให้มี กิจกรรมร่วมดูดาวและถ่ายรูปกลุ่มดาว ณ ลานดูดาวนาโนพระจอมเกล้าลาดกระบัง ระหว่างวันที่ 17-24 ธันวาคม 2557 อีกด้วย โดยผู้สนใจสามารถลงชื่อได้ที่ ห้องธุรการวิทยาลัยนาโนฯ โทร 02-3298000 ต่อ 3034

วัสดุนาโนและความปลอดภัย

วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมกล้าลาดกระบัง สจล. โดยศาสตราจารย์ ดร.จิติ หนูแก้ว คณบดี ร่วมด้วยสมาชิก ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ด่านช้าง ได้แก่ ดร.วิรัตน์ เจริญบุญ อ.อดิเรก แรงกสิกรณ์ อ.เฉลิมพล สาริบุตร นายสนิท หมอกมืด นายสุธิชัย สามารถ นายณัฐพงษ์ ขำาทอง และว่าที่ ร.ต.ดิเรกฤทธิ์ จันทรวงษ์ ได้ลงพื้นที่ดำาเนินโครงการ ตรวจสอบผลกระทบจากการใช้วัสดุนาโนต่อสิ่งแวดล้อม ปี 2556-2557 ระหว่างวันที่ 30 กันยายน ถึง 4 ตุลาคม 2556 ใน พื้นที่ของเกษตรกรที่ร่วมในโครงการวิจัย ในเขตอำาเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ ผลครั้งที่ 1 ของโครงการฯ และจะมีการดำาเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อความแน่ใจในความปลอดภัยจากการประยุกต์ใช้วัสดุ นาโนของประชาชนทั่วไป